การศึกษาทางเลือกอื่นเพื่อทดแทนการใช้ยาโคลิสตินผสมในอาหารสัตว์ในฟาร์มสุกรเพื่อรักษาอาการท้องเสียเนื่องจากการติดเชื้อ อี. โคไล. (E. coli) ในลูกสุกรอนุบาล

(A Study investigating alternative regimens to replace colistin mixed in feed for the treatment of E. coli infection in nursery pigs)

รักไทย งามภักดิ์1, สุนิตย์ มีบำรุง2, ภานุมาศ คงปันนา2, เดชฤทธิ์ นิลอุบล2

บทคัดย่อ

 

                การใช้ยาโคลิสตินในลูกสุกรหย่านมเพื่อลดปัญหาท้องเสีย รวมไปถึงการสูญเสีย ในช่วง2 สัปดาห์แรกอาจเป็นสาเหตุให้เกิดเชื้อดื้อยาได้ วัตถุประสงค์งานวิจัยเพื่อศึกษาสารเสริมทดแทนยาโคลิสตินในลูกสุกรหย่านม จำนวน 222 ตัว (n=37) อายุ 24 วัน น้ำหนักเฉลี่ย 6.19 ± 0.63 kg แผนการทดลองแบบ completely randomized design (CRD) อาหารงานวิจัย มี 6 กลุ่ม ได้แก่ อาหารงานวิจัยกลุ่มที่ 1.อาหารพื้นฐาน เสริมด้วย colistin 160 ppm กลุ่มที่ 2.อาหารพื้นฐาน เสริมด้วย bromelain 12.5 mg/ton กลุ่มที่ 3.อาหารพื้นฐาน เสริมด้วย 1 kg apramycin และ 125 mg flavomycin กลุ่มที่ 4. อาหารพื้นฐาน เสริมด้วย CuSO4 3kg/ton กลุ่มที่ 5.อาหารพื้นฐาน เสริมด้วย butyric acid 1 kg/ton และ yeast (Saccharomyces cerevisiae) 1 kg/ton กลุ่มที่ 6.อาหารพื้นฐาน เสริมด้วย probiotic (Bacillus subtilis) 1.2 kg/ton ผลการทดลองด้านสมรรถภาพการเจริญเติบโต พบว่า ค่า ADG (กรัม/ตัว/วัน) ในกลุ่ม T4 T5 และ T6 มีค่าสูงที่สุด (p<0.01) นอกจากนี้ T4 และ T6 มีค่าน้ำหนักสุดท้ายในวันที่ 14 ที่สูงที่สุดเช่นกัน (p<0.01) ผลด้านจำนวนเชื้อ E. coli ในมูล (log 10 cfu/g) พบว่าวันที่ 14 กลุ่ม T1 T2 และ T6 มีค่าเชื้อ E.coli ในมูลน้อยที่สุด (p<0.01) และช่วงการเปลี่ยนแปลงวันที่ 0 และ 14 ส่งผลต่อเชื้อ E.coli ในมูลที่ลดลงอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ (p<0.01) ผลด้านร้อยละของสุกรที่แสดงอาการท้องเสีย พบว่าทุกกลุ่มอาหารทดลองสามารถลดอาการท้องเสียได้จากวันที่ 0 ถึง 14 นอกจากนี้ในวันที่ 7 พบว่า T2 และ T6 มีค่าร้อยละของสุกรที่แสดงอาการท้องเสียที่น้อยที่สุด (p<0.05) สรุปงานทดลองอาหารทั้ง 5 กลุ่ม (T2-T6) สามารถนำมาใช้เป็นสารเสริมทดแทนยาโคลิสตินได้ โดยมีคุณสมบัติที่เพิ่มสมรรถภาพการผลิต ทั้งด้านการเจริญเติบโต การเปลี่ยนแปลงของประชากรจุลชีพก่ออาการท้องเสีย และอาการท้องเสียที่แสดง

 

คำสำคัญ: สารเสริมทดแทน ยาปฏิชีวนะ สุกรหย่านม ประสิทธิภาพการผลิต อาการท้องเสีย


ทะเบียนวิชาการเลขที่: 63 (2)-0322-033
1กองควบคุมอาหารและยาสัตว์ กรมปศุสัตว์
2ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพฯ 10330

 

คลิกอ่านรายละเอียดเนื้อหา