การประเมินการใช้ระบบการลงทะเบียนเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ในพื้นที่ปศุสัตว์เขต 1

ในปี พ.ศ. 2564

 

นายวีรวัฒน์ วะชุม

 

บทคัดย่อ

 

   

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินการใช้ระบบการลงทะเบียนเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ในพื้นที่ปศุสัตว์เขต 1 ในปีพ.ศ. 2564และ 2) ศึกษาปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะการใช้ระบบการลงทะเบียนเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ในพื้นที่ปศุสัตว์เขต1เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจากเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ปศุสัตว์เขต1 ที่ใช้ระบบการลงทะเบียนเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ จำนวน 97 ราย นำมา วิเคราะห์ข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติประกอบด้วย ค่าความถี่ ค่าร้อยละค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) การแจกแจงแบบ F (f- test) และการทดสอบ Least Significant Different (LSD) โดยกำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

ระบบทะเบียนเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ ได้มีการปรับปรุงแก้ไขกระบวนการขั้นตอนในการใช้งาน การสำรวจและขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ เช่น การบันทึกข้อมูล, การใช้งานเครื่องอ่านบัตรประชาชน, การลงพิกัดที่ตั้งฟาร์ม, การบันทึกรูปภาพ ตลอดจนปัญหาในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่เพื่อให้ข้อมูลทะเบียนเกษตรกรมีความถูกต้อง รวดเร็ว ลดความซ้ำซ้อนและสามารถนำไปใช้ประโยชน์และให้ฐานข้อมูลเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์เป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อหน่วยงานผู้ศึกษาจึงมีความสนใจที่จะศึกษาการประเมินผลระบบทะเบียนเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ในพื้นที่ปศุสัตว์เขต 1 เพื่อให้สำนักงานปศุสัตว์เขต 1 นำมาประยุกต์ใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงพัฒนาระบบทะเบียนเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ ต่อไป

           จากผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่าง 97 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 94.85 อายุระหว่าง 50 – 54 ปี ร้อยละ 36.08 อายุราชการระหว่าง 25 - 29 ปีร้อยละ 46.39 ดำรงตำแหน่งปศุสัตว์อำเภอ ร้อยละ 76.29 สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรี ร้อยละ 84.53 ใช้งานคอมพิวเตอร์น้อยกว่า 3 ชั่วโมงต่อวัน ร้อยละ 35.05

          เจ้าหน้าที่ในพื้นที่ปศุสัตว์เขต 1 ที่ใช้ระบบการลงทะเบียนเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์มีความคิดเห็นว่า 1) ด้านบริบทหรือสภาวะแวดล้อม องค์กรให้การสนับสนุนในการใช้ระบบการลงทะเบียนเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ วัฒนธรรม ค่านิยมขององค์กร ก่อให้เกิดการใช้ระบบการลงทะเบียนเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ในการทำงาน หลักการและวัตถุประสงค์ระบบการลงทะเบียนเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ มีความสอดคล้องกัน สามารถใช้ระบบการลงทะเบียนเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ ปฏิบัติงานได้ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ และระบบการลงทะเบียนเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์มีความสำคัญต่องานในหน้าที่ที่รับผิดชอบ 2) ด้านปัจจัยนำเข้า บุคลากรมีการเรียนรู้ และศึกษาคู่มือระบบการลงทะเบียนเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ บุคลากรได้รับการฝึกอบรมในการใช้งานระบบการลงทะเบียนเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องระบบการลงทะเบียนเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์สามารถรองรับการปฏิบัติงานได้บุคลากรสามารถใช้ระบบการลงทะเบียนเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ได้เป็นอย่างดี 3)ด้านกระบวนการ มีการมอบหมายงานให้กับเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน มีการทดลองใช้ระบบการลงทะเบียนเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ มีการประเมินผลและสรุปผลการดำเนินงานระบบการลงทะเบียนเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ มีการวางแผนก่อนปฏิบัติงาน และมีการนิเทศกำกับติดตามระบบการลงทะเบียนเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ได้ 4)ด้านประเมินผลผลิต มีระบบการลงทะเบียนเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ ช่วยให้การปฏิบัติงานง่ายขึ้น และเกิดประโยชน์ ระบบการลงทะเบียนเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์สามารถติดตามความเคลื่อนไหวข้อมูลเกษตรกรและจำนวนปศุสัตว์ได้ ณ ปัจจุบัน ระบบทะเบียนเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ มีข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานระบบการลงทะเบียนเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ มีส่วนสนับสนุนให้การปฏิบัติงานเกิดผลลัพธ์ที่ดีขึ้นและระบบการลงทะเบียนเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ สามารถนำข้อมูลมาใช้ประกอบเพื่อการขออนุมัติงบประมาณต่าง ๆ ต่อไปได้

จากการศึกษาปัญหา และอุปสรรคของระบบการลงทะเบียนเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ในพื้นที่ปศุสัตว์เขต 1 ใน ปีพ.ศ. 2564 พบว่า เจ้าหน้าที่ไม่เพียงพอต่อปริมาณงาน และขาดความรู้ด้านคอมพิวเตอร์ วัสดุ–อุปกรณ์มีไม่เพียงพอและอุปกรณ์ที่ได้รับไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ ทำให้เกิดการล่าช้าในการปฏิบัติงาน ระบบไม่เสถียร ระบบช้า ไม่ทันเหตุการณ์ ผู้วิจัยจึงได้เสนอข้อเสนอแนะ ควรมีเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ให้บริการ และสนับสนุนด้านคุณภาพการบริการให้คำปรึกษาที่รวดเร็ว รอบด้าน และมีการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ และเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์เพื่อให้มีความรู้ และสามารถใช้ระบบการลงทะเบียนเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ได้ อีกทั้งควรสนับสนุนวัสดุ–อุปกรณ์ที่ใช้ในการปฏิบัติงานให้เพียงพอ

คำสำคัญ : ระบบการลงทะเบียนเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์


ทะเบียนวิชาการเลขที่ : 64 (2) -0216 (1) -144

สำนักงานปศุสัตว์เขต 1 อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี

 

คลิกอ่านรายละเอียดเนื้อหา